วัฒนธรรมท้องถิ่น
เนื่องจากเมืองเชียงใหม่มีประวัติศารสตร์ที่ยาวนาน ชาวเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและศิลปิน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีภาษา เพลงพื้นบ้านที่มีท่วงทำนองและจังหวะในแบบเฉพาะ เทศกาลงานประเพณี สถาปัตยกรรม หัตถกรรมพื้นเมือง การเต้นรำและอาหารที่โดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่ยังคงสร้างสีสรรค์โดดเด่นให้ กับพื้นที่บนเขาสูง สถาปัตยกรรมแบบล้านนาได้ถูกนำมาออกแบบในหลายโรงแรม เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้สัมผัสถึงบรรยากาศและวัฒนธรรมทางภาค เหนืออย่างแท้จริง
จำนวนประชากร
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยในปี 2543 จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรจำนวน 1,590,327 คน อำเภอที่มีประชากรมากที่สุด คือ อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีประชากรจำนวน 170,348 ส่วนที่เหลือ กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ จังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมด 21 อำเภอ 2 ตำบล ประชากร 80% ของคนเชียงใหม่เป็นคนในท้องถิ่นที่เกิดและพูดภาษาท้องถิ่นใช้ภาษาไทยกลางเพียงเล็กน้อย ประชากรที่เหลือ 20% เป็นชาวต่างประเทศ และชาวไทยที่ไปทำงาน เรียนและปลดเกษียณ ย้ายไปอยู่เชียงใหม่
มีชาวเขา จำนวนมากอาศัยอยู่ในเขตภูเขาล้อมรอบอยู่เชียงใหม่เช่น อมก๋อย, แม่แจ่ม, เชียงดาวและแม่อาย รายงานสถิติรายงานโดยสถาบันวิจัยชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่าในปี 2535 มีหมู่บ้านชาวเขาที่อาศัยในเชียงใหม่ทั้งหมด 1,049 หมู่บ้านประกอบไปด้วยประชากรทั้งหมดจำนวน 174,195 คน ในจำนวนนี้เป็นเผ่ากะเหรี่ยง 106,116 คน, เผ่ามูเซอหรือลาหู่ 27,392คน, เผ่าม้งหรือแม้ว 17,198 คน, เผ่าลีซอ 10,873 คน, เผ่าลัวะ 8,862 คน, เผ่าอาข่า 2,609 คน, เผ่าเมี่ยน 1,145 คนและเผ่าปาดอง 485 คน ชาวเขาส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และล่าสัตว์เพื่อการดำรงชีพ เนื่องจากแต่ละเผ่ามีวัฒนธรรมภาษาที่แตกต่างกันและที่น่าสนใจคือการแต่งกายประจำเผ่าที่ทอผ้าแล้วเย็บเป็นผืนติดต่อกันเป็นชิ้นมีลวดลายที่สวยงาม
จำนวนประชากรส่วนใหญ่ 80% ของชาวเชียงใหม่มีอาชีพทางเกษตรกรรมทำนา ทำไร่ ทำสวน อาชีพใหญ่อันดับที่สองรองลงมาคือการท่องเที่ยว ทั้งงานที่เกี่ยวข้องโดย ตรงและทางอ้อม การพณิชย์และอุตสาหกรรมทั่วไปส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของหัตถกรรม งานฝีมือและการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร เป็นสองอาชีพหลักคนเชียงใหม่ในปัจจุบันนี้
ลักษณะภูมิประเทศ
ประตูเมืองเชียงใหม่เชียงใหม่เป็นพื้นที่ปกคลุมด้วยภูเขาและป่าไม้ 69.31% เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและแม่น้ำสายสำคัญต่างๆ (เช่นแม่น้ำแจ่ม แม่น้ำงัด แม่น้ำกลาง) เป็นทรัพยากรสำคัญและคลองชลประทานที่ช่วยให้ประชากรมีแหล่งน้ำ(เหมืองและฝาย) ใช้ในการเกษตรกรรม การสาธารณูปโภคตลอดจนการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่
แม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของเชียงใหม่คือแม่น้ำปิงมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาวทิวเขาแดนลาว ไหลลงทางทิศใต้ประมาณ 540 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบลุ่มมีความอุดมสมบูรณ์ มีภูเขาสูงที่สุดในประเทศไทยคือ "ดอยอินทนนท์" สูงประมาณ 2,575 เมตร (8,448 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล
ที่ตั้งจังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนความสูงประมาณ 310 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 700 กิโลเมตร ล้อมรอบไปด้วยภูเขาสูงครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตรและเป็นจังหวัดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย ทางทิศเหนือของเชียงใหม่ติดต่อกับพม่า ทางทิศใต้ติดต่อกับลำพูนและตาก ทางทิศตะวันออกติดต่อกับเชียงรายและลำปาง ทางทิศตะวันตกติดต่อกับแม่ฮ่องสอน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา ซึ่งเป็นที่อยู่ของชนเขาเผ่าต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าและพืชพันธุ์แปลกใหม่ที่พบได้ตามอุทยานแห่งชาติ
จุดชมวิวเมืองเชียงใหม่
พื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือจรดทิศใต้ของจังหวัด มีสายน้ำที่สำคัญไหลผ่านเช่นแม่แจ่ม แม่งัดและแม่กลาง จุดโดดเด่นที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ก็คือ ดอยอินทนนท์ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยมีความสูง 2,575 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ กระจายอยู่ตามแม่น้ำที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่คือ แม่น้ำปิง ซึ่งไหลมาจากภูเขาเชียงดาว มีแม่น้ำที่สำคัญอย่าง แม่น้ำปิง ซึ่งไหลมาจากภูเขาเชียงดาว
อาณาเขต
ทิศเหนือ | : ติดต่อกับ รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า |
---|---|
ทิศใต้ | : ติดต่อกับ จังหวัดตาก |
ทิศตะวันออก | : ติดต่อกับ จังหวัดเชียงราย, จังหวัดลำปาง, จังหวัดลำพูน |
ทิศตะวันตก | : ติดต่อกับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
ที่มา:http://www.sawadee.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น